Social Network คืออะไร

Social Network คืออะไร?


          Social Network คือ สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เนทได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ เช่น      
Hi5    
My Space     
Face Book    
  

          เว็บ SNS (Social Network Site) เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเว็บที่สร้างขึ้นมาเพื่อการตอบสนองความต้องการในการติดต่อธุรกิจหรือหาเพื่อนบนโลกไซเบอร์ทั้งสิ้น 




Hi5

เว็บ Hi5 เป็นเว็บที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีผู้ใช้บริการกว่า 7 แสนคน
สำหรับ หลายคนที่รู้จักและใช้บริการอยู่คงจะไม่ต้องอธิบายกันมาก เพราะคงรู้จุดประสงค์และการใช้งานดีอยู่แล้ว แต่หลายๆคนยังไม่ทราบว่าเจ้า hi5 นี่ใช้งานยังไง มีทำไม และเพื่อประโยชน์อะไร

Hi5.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้บริการมาฝาก profile ของตัวเอง คล้ายๆกับ blog เนี่ยแหละ แต่ว่าคนไม่ค่อยไปเขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราวในนั้นซะเท่าไหร่ จะเน้นที่ตกแต่งหน้าตา profile เราให้สวยงาม ดึงดูดคนมาเข้า แต่จุดเด่นของมันอยู่ที่ ระบบ network ที่เรามีโอกาสได้ทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ หรือบังเอิญเจอเพื่อนเก่าสมัยมัธยมเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือเพื่อนของเพื่อน กิ้กเก่า แฟนเก่า .. แต่อีกหลายคนก็สมัครไปงั้นๆไม่ได้อะไรมากเพราะได้รับอีเมลชวนมาเล่น hi5 จากเพื่อน ...
ข้อดี1. มีโอกาสได้เพื่อนใหม่ๆและ keep connect กับเพื่อนเก่าๆ ที่บางคนอาจจะเลือนหายไปกับความทรงจำ (แต่พอส่ง msg คุยกันก็ไม่รู้จะคุยไร เพราะมันห่างกันมานาน)
2. การเก็บรักษาความส่วนตัว ก็ใช้ได้ระดับหนึ่ง คือ ยังไงๆถ้าเราไม่บอก ไม่ว่าใครก็ไม่รู้อีเมลเรา แต่ถ้าอยากให้รู้ก็เขียนบอกไปเลยก็ได้ หรืออยากรู้ msn ใครก็แมสเสจไปหาเขาตรงๆ
3. วิธีการสมัครง่าย และวิธีการทำ hi5 ให้สวยงามก็ง่าย
4. ข้อดีก็เหมือน blog ทั่วไปๆแหละเพียงแต่คนเล่นนิยม เพราะมันดูทันสมัยและใช้งานง่าย

ข้อเสีย1. มีการพัฒนาเวบ อาจจะล่มบางครั้ง
2. ใส่ลูกเล่นหรือปรับแต่งอะไรได้ไม่ค่อยเยอะ มันจะมี pattern อยู่แล้ว ก็จะปรับได้ส่วนของแบคกราวน์ สี font ตัวอักษร ใส่เพลง vdoclip ....
3. ไม่มีประโยชน์เท่าบล้อก เพราะคนเข้ามาดูรูปส่วนใหญ่





My Space

My Space คือ เว็บบล็อก ที่ทาง msn ให้ผู้ที่ใช้ msn ได้เข้าไปใช้บริการกัน ก็มีคำถามต่ออีกว่า เจ้า webblog คืออะไร สำหรับ เจ้า Web Blog ผมอยากให้เรานึกง่ายๆ ว่ามัน คล้าย ไดอะรี่ แต่ไม่ใช่นะครับ ย้ำ ว่า บล็อก ไม่ใช่ ไดอะรี่ โดยบล็อกจะมีความหลากหลายมากกว่า เพราะในบล็อก ผู้ที่เป็นเจ้าของเนื้อที่นั้น จะเป็นผู้ที่ดูแลเนื้อหา ว่า จะให้เป็นแนวไหน หรือว่าจะเป็นเนื้อเรื่องอะไร ส่วนหลายคนเอามาเป็น ไดอะรี่ นั้น ผิดไหม คงไม่ผิด คือมันแล้วแต่ว่า ผู้ดูแลจะเป็นอย่างไร

ข้อดี 1. มีลูกเล่นค่อยข้างมากกว่าที่อื่นไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ Layout, Music ,Photo เป็นต้น รวมทั้ง
2. มีการแสดงให้เห็นใน Contact list ของ MSN อีกด้วย (เป็นรูปดาวๆหน้าชื่อนั่นล่ะครับ )
3. สามารถกำหนดสิทธิคนที่จะเข้าดูได้หลายระดับ

ข้อเสีย1. เปิดดูได้ช้ามาก ยิ่งเน็ต 56K คงแทบหมดสิทธิ หากบล็อกมีลูกเล่นเยอะ
1.ยังไม่สามารถใส่พวก script แบบไดอารี่ หรือ บล็อกในหลายๆ ที่ได้ (อันนี้ไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่สำหรับผม)
3. การเลือกจำนวนของ Entry หรือบทความที่จะแสดงในหน้าแรกของบล้อก ได้ต่ำสุดที่ 5 ดังนั้นใครที่นิยมเขียนอะไรยาวๆ ทำใจได้เลยครับว่า หน้าแรกของบล็อก คุณจะยาวสุดกู่เลยล่ะครับ สุดท้ายคือ
4. ความสามารถ ในส่วนของการกำหนดขนาดตัวอักษร ซึ่งผม ยังหาไม่เจอว่า มีการให้ใส่หรือ เลือกขนาดตัวอักษรสำหรับบทความได้ในจุดไหน ซึ่งอันนี้ผมคิดว่ามีความสำคัญทีเดียว การเล่นตัวอักษร เล็กใหญ่ มันช่วยเน้นข้อความและทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น สรุปใจความได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องอ่านทั้งหมด ก็ได้ซึ่ง การเล่นสีและตัวหนา เพียงอย่างเดียว มันยังไม่มากพอครับ
        
มายสเปซ (MySpace) เป็นเว็บไซต์ในรูปแบบของเครือข่ายชุมชน ชื่อดังเว็บหนึ่ง ให้บริการทำเว็บส่วนตัว บล็อก การเก็บ ภาพ วิดีโอ ดนตรี และเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มคนอื่น มายสเปซมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เบเวอร์ลีย์ฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกามาย สเปซก่อตั้งเมื่อ สิงหาคม พ.ศ. 2546 โดย ทอม แอนเดอร์สัน และ คริสโตเฟอร์ เดอโวล์ฟ ในปัจจุบัน มายสเปซมีพนักงานกว่า 300 คน และในตัวเว็บไซต์มีผู้ลงทะเบียนมากกว่า 100 ล้านคน และมีผู้ลงทะเบียนใหม่ประมาณ 200,000 คนต่อวัน




Face Book

Mark Zuckerberg ก่อตั้ง Facebook เว็บชุมชนออนไลน์ (Social-Networking Site) ที่กำลังได้รับความนิยมสุดขีดในขณะนี้ เมื่อ 3 ปีก่อน ขณะยังเรียนอยู่ที่ Harvard ก่อนจะลาออกกลางคัน เจริญรอยตาม Bill Gates แห่ง Microsoft เพื่อเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ที่เขาก่อตั้งขึ้น ด้วยวัยเพียง 22 ปี

ภาย ในเวลาเพียง 3 ปี เว็บที่เริ่มต้นจากการเป็นเว็บชุมชนออนไลน์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย กลายเป็นเว็บที่มีผู้ใช้ที่ลงทะเบียน 19 ล้านคน ซึ่งรวมถึงข้าราชการในหน่วยงานรัฐบาล และพนักงานบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้ เข้าเว็บนี้เป็นประจำทุกวัน และขณะนี้กลายเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับ 6 ในสหรัฐ 1% ของเวลาทั้งหมดที่ใช้บน Internet ถูกใช้ในเว็บ Facebook

นอกจากนี้ ยังได้รับการจัดอันดับเป็นเว็บที่ผู้ใช้ Upload รูปขึ้นไปเก็บไว้มากเป็นอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ โดยมีจำนวนรูปที่ถูก Upload ขึ้นไปบนเว็บ 6 ล้านรูปต่อวัน และกำลังเริ่มจะเป็นคู่แข่งกับ Google และเว็บยักษ์ใหญ่อื่นๆ ในการดึงดูดวิศวกรรุ่นใหม่ใน Silicon Valley นักวิเคราะห์คาดว่า Facebook จะทำรายได้ 100 ล้านดอลลาร์ในปีนี้

Zuckerberg เพิ่งปฏิเสธข้อเสนอซื้อของ Yahoo ซึ่งเสนอซื้อ Facebook ด้วยเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านี้ก็มีข่าวลือว่า Viacom เสนอซื้อ Facebook ด้วยเงิน 750 ล้านดอลลาร์ คำถามคือ การตัดสินใจของ Zuckerberg ครั้งนี้ ถูกต้องหรือไม่ ในช่วงไม่ถึง 2 ปีที่ผ่านมา มีเว็บยุคใหม่ที่เรียกว่า Web 2.0 ที่โด่งดัง 2 แห่ง ที่เพิ่งถูกขายให้แก่บริษัทยักษ์ใหญ่ นั่นคือ MySpace ที่ถูก News Corp ซื้อไปด้วยเงิน 580 ล้านดอลลาร์ และ YouTube ที่ยอมรับเงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์จาก Google

ขณะที่ในอดีตเว็บ Friendster เว็บชุมชนออนไลน์ที่โด่งดังเป็นเว็บแรก เคยปฏิเสธการเสนอซื้อด้วยเงิน 30 ล้านดอลลาร์จาก Google ในปี 2002 ซึ่งหากจ่ายเป็นหุ้น ป่านนี้คงมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 1 พันล้านดอลลาร์ แต่หลังจากนั้น Friendster ซึ่งเป็นเว็บรุ่นเก่า ก็ถูกบดบังรัศมีโดยเว็บรุ่นใหม่ๆ

Facebook จะประสบชะตากรรมอย่างเดียวกับ Friendster หรือไม่ ในขณะที่เว็บชุมชนออนไลน์ใหม่ๆ เกิดขึ้นแทบไม่เว้นแต่ละวัน

Zuckerberg ยอมรับว่าเขาเป็น Hacker แต่ไม่ใช่ในความหมายของนักเจาะระบบ Hacker ของเขาหมายถึงการนำความพยายามและความรู้ที่ทุกคนมีมารวมกัน แบ่งปันกัน เพื่อบรรลุสิ่งที่ดีกว่า เร็วกว่าหรือใหญ่กว่า ซึ่งคนๆ เดียวทำไม่ได้ โดยให้ความสำคัญกับการเปิดกว้าง การแบ่งปันข้อมูล เขาสร้างสิ่งที่เรียกว่า Hackathon ใน Facebook ซึ่งคล้ายกับการระดมสมองสำหรับวิศวกร

อย่างไร ก็ตาม Facebook กลับมีกำเนิดมาจากการเจาะระบบจริงๆ เมื่อ Zuckerberg เรียนอยู่ที่ Harvard เขาพบว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่มีหนังสือรุ่นที่เรียกว่า Face Book ซึ่งจะเก็บรายชื่อนักศึกษาพร้อมรูปและข้อมูลพื้นฐาน เหมือนอย่างมหาวิทยาลัยทั่วไป Zuckerberg ต้องการจะทำหนังสือรุ่นออนไลน์ของ Harvard แต่ Harvard กลับปฏิเสธว่า ไม่สามารถจะรวบรวมข้อมูลได้

Zuckerberg จึงเจาะเข้าไปในระบบทะเบียนประวัตินักศึกษาของ Harvard และทำเว็บไซต์ชื่อ Facemash ซึ่งจะสุ่มเลือกรูปของนักศึกษา 2 คนขึ้นมา และเชิญให้ผู้เข้ามาในเว็บเลือกว่า ใคร “ฮอต” กว่ากัน

ภายในเวลา เพียง 4 ชั่วโมง มีนักศึกษาเข้าไปในเว็บของ Zuckerberg 450 คน และมีสถิติการชมภาพ 22,000 ครั้ง ทำให้ Harvard ห้าม Zuckerberg ใช้ Internet และเรียกตัวไปตำหนิ เหตุการณ์จบลงโดย Zuckerberg กล่าวขอโทษเพื่อนนักศึกษา แต่เขายังคงเชื่อมั่นว่า สิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้อง

ต่อ มา Zuckerberg จัดทำแบบฟอร์ม Facebook เพื่อให้นักศึกษาเข้ามาเขียนข้อมูลของตนเอง Thefacebook.com ซึ่งเป็นชื่อเริ่มแรกของ Facebook เปิดตัวเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2004 ภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์ นักศึกษาครึ่งหนึ่งของ Harvard ลงทะเบียนในเว็บแห่งนี้ และเพิ่มเป็น 2 ใน 3 ของนักศึกษา Harvard ทั้งหมดในเวลาอันรวดเร็ว นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นเริ่มติดต่อ Zuckerberg ขอให้ทำหนังสือรุ่นออนไลน์ให้แก่มหาวิทยาลัยของพวกเขาบ้าง จึงเกิดพื้นที่ใหม่ใน Facebook สำหรับ Stanford และ Yale ภายในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน โรงเรียนอีก 30 แห่งเข้าร่วมใน Facebook ตามมาด้วยโฆษณาที่เกี่ยวกับนักเรียนนักศึกษา และธุรกิจที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย ทำให้เว็บชุมชนแห่งนี้ เริ่มสร้างรายได้หลายพันดอลลาร์

ขณะนี้ Facebook กำลังจะเพิ่มจำนวนวิศวกรจาก 50 คนอีกเท่าตัวภายในปีนี้ และเพิ่มจำนวนพนักงานบริการลูกค้าซึ่งมีอยู่ 50 คน เพราะจำนวนผู้ใช้รายใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างท่วมท้น 100,000 คนต่อวันในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตลาดมหาวิทยาลัยในแคนาดาและอังกฤษของ Facebook เติบโตเกือบ 30% ต่อเดือน (มีข่าวว่า เจ้าชาย Harry แห่งอังกฤษและเพื่อนสาวคนสนิทก็เป็นผู้ใช้ Facebook ด้วย) และ 28% ของผู้ใช้ Facebook ทั้งหมด อยู่นอกสหรัฐฯ นอกจากนี้ อายุของผู้ใช้ Facebook เริ่มหลากหลายมากขึ้น ผู้ใช้อายุ 25-34 ปีมี 3 ล้านคน อายุ 35-44 ปีมี 380,000 คน และอายุเกิน 64 ปีมี 100,000 คน

3 ปีก่อน Zuckerberg มาถึง Palo Alto ด้วยมือเปล่า และยังเป็นนักศึกษาของ Harvard แต่ขณะนี้เขาเป็นผู้บริหารเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ที่กำลังฮอตที่สุด และเพิ่งได้รับเชิญไปกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมผู้นำการเมืองและเศรษฐกิจ โลกที่เมือง Davos สวิตเซอร์แลนด์ในปีนี้ รวมทั้งเพิ่งปฏิเสธข้อเสนอซื้อมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์อย่างไม่ใยดี









ทวิตเตอร์ 
 เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ โดยเรียกการส่งข้อความนี้ว่า ทวีต (อังกฤษ: Tweet) ซึ่งแปลว่า เสียงนกร้อง

ทวิตเตอร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 โดย แจ็ก ดอร์ซี, บิซ สโตน และอีวาน วิลเลียมส์ เจ้าของบริษัทอ็อบวีโออุส และต่อมาในเดือนกรกฎาคม ก็ได้เปิดตัวเว็บไซต์สังคมออนไลน์ ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมจากทั่วโลก โดยมีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนเข้าใช้มากกว่า 500 ล้านคนในปี พ.ศ. 2555 รวมไปถึงมีทวีตมากกว่า 340 ล้านทวีตต่อวัน และมีการค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์มากกว่า 1,600 ล้านครั้งต่อวัน นับตั้งแต่วันเปิดตัว ทวิตเตอร์เป็นเว็บไซต์ 1 ใน 10 อันดับที่มีผู้เข้าใช้งานมากที่สุด โดยได้รับการขนานนามว่าเป็นเว็บไซต์สำหรับการส่งบริการข้อความสั้น บนอินเทอร์เน็ต[ ซึ่งในภายหลัง นอกจากที่จะสามารถทวีตบนเว็บไซต์แล้ว ได้มีการเปิดให้ใช้งานการส่งทวีต ด้วยการส่งบริการข้อความสั้น (SMS) และบนโปรแกรมประยุกต์ ในโทรศัพท์มือถือ และสมาร์ตโฟน

ตัวระบบซอฟต์แวร์ของทวิตเตอร์ เดิมพัฒนาด้วย รูบีออนเรลส์ จนเมื่อราวสิ้นปี ค.ศ. 2008 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ภาษา Scala บนแพลตฟอร์มจาวา
โลโก้ของทวิตเตอร์ ค.ศ.2006-2010
โลโก้ของทวิตเตอร์ ค.ศ.2010-2012

ค.ศ. 2009 ทวิตเตอร์ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างมาก จนนิตยสารไทม์ ฉบับวันที่ 15 มิ.ย. 2009 ได้นำเอาทวิตเตอร์ขึ้นปก เป็นเรื่องเด่นประจำฉบับ และบทบรรณาธิการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงการนำเสนอข่าว ที่มีที่มาจากเทคโนโลยีใหม่อย่างทวิตเตอร์

2 ความคิดเห็น:

  1. ให้ความรู้ครบถ้วนดีมาก ขอบคุณครับ...

    ตอบลบ
  2. ให้ความรู้ครบถ้วนดีมาก ขอบคุณครับ...

    ตอบลบ